วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทความจากอัจฉริยะสร้างสุข ของ วนิษา เรซ

 ไม่มาก...ไม่ยาก
         ปัญหาของคนเก่งคือ รู้เยอะแต่ทำไม่ได้ เราเห็นคนเก่งมากมายเรียนได้จนรับปริญญาเอก แต่มีปัญหาชีวิตครอบครัว เห็นคนจบด้านการเงินแต่ลงทุนพลาดจนล้มละลา เห็นเด็กเรียนเก่งระดับเกียรตินิยมแต่กระโดตึกฆ่าตัวตาย  ความรู้เป็นของมีค่า เป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ หาทรัพย์สินสิง่ของมาให้เรา แต่ความรู้และทรัพย์สินไม่ได้ประกันความสุขขั้นละเอียด แม้จำเป็นต่อความสุขขั้นพื้นฐาน แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับความสุขขั้นละเอียดขึ้นไปกว่าวัตถุ และปัญหาคือ มนุษย์เราต้องการความสุขขั้นละเอียดเสียด้วย ไม่เช่นนั้น รวยแค่ไหนก็ไม่วายรู้สึกโหวงๆภายในเรื่อยไป ต้องหาทางเติมเต็มด้วยคนรอบตัว ด้วยสิ่งของหรือกิจกรรมต่างๆไม่จบสิ้น
      อาร์ชิบาลด์ แมคเคลอิช พูดไว้น่าสนในมากว่า " ปัญหาที่โลกมีไม่ใช่เพราะความเชื่อว่าข้อมูลข่าวสารและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งดี ความรุ้ดีกว่าความเขลาแน่นอนอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ตรงที่คววามเชื่อว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนโลกได้ เพราะมันไม่จริง"
     รู้เพียงไม่มาก ทำให้ไม่ยาก  แล้วดูว่าสิ่งใหม่ที่เราได้เรียนรู้และลองลงมือทำ จะทำให้ชีวิตของเรามีความสุขได้อย่างไร
    รู้มาก  มีมาก ไม่ได้ประกันว่าโลกนี้จะดีขึ้นหรือเราจะสุขขึ้น ความสุขจะมีขึ้นได้เมื่อเรารู้ว่าควรวางสิ่งใดลง วางลงเมื่อไหร่ และวางลงเพื่ออะไร ความสุขประเภทนี้มาพร้อมปัยหา มาพร้อมกับความสามารถในการตั้งคำถามที่จะนำเราไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้
    คนเก่งหรือไม่เราไม่ได้ดูว่าเขาจำและตอบคำถามได้ดีแค่ไหน แต่เราจพดูที่ "ตั้งคำถาม" เป็นไหม่ต่างหาก ท่องจำใครๆก้ทำได้ แต่จะคิดตั้งคำถามให้นอกกรอบ ให้เส้นทางการเดินไปหาคำตอบไม่หลงทางนั้น ไม่ใช่ทุกนจะทำได้   เมื่อทุกข์ การตั้งคำถามว่า " ทำไมต้องเป็นฉัน"  " มะไม่ยุติธรรมเลย ทำไมไม่เกิดกับคนอื่นบ้าง"   คงไม่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น  คำถามที่สำคัญที่สุดบนเส้นทางสร้างสรรค์ความสุขน่าจะเป็นว่า
    ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ตัวเรา ครอบครัวเรา สังคมเรา และโลกเรามีความสุขขึ้นได้ แม้เพียงอีกสักนิดก็ยังดี    คำถามนี้ง่ายๆไม่ซับซ้อน ตรงประเด็นที่สุด ต้องง่ายๆระดับนี้จึงจะได้ผล เพราะอย่างที่บอกว่า หลักการที่ได้ผลที่สุดมัก  ไม่มากและไม่ยาก  เสียด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น