วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิถีไม่ตัน

เพิ่งได้หนังสือเล่มนี้มาอยู่ในมือเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ขณะที่หลายๆคนคงอ่านจบไปหลายรอบแล้วนะคะ ยังไงก็ตามขอนำบทความดีๆให้แง่คิด คติ ในการดำเนิธุรกิจและชีวิตของคุณต "ตัน" มาแบ่งปันค่ะ

   วิถีที่ 1 คำมั่นสัญญา
ตอนที่ตัดสินใจลาออกจาดโออิชิ รู้ไหมครับผมคิดอะไร จากคนที่เคยเริ่มต้นจาก ติดลบ สามารถมีวันนี้ได้ ไม่ว่าจะความสำเร็จหรือฐานะทรัพย์สิน ทุกอย่างเกินที่ผมฝันไว้แล้ว คงไม่กล้าบอกว่าตัวเองรวยแล้ว เพียงแต่รู้สึกว่า" เพียงพอ"บางช่วงบางตอนของคนเรามักสนุกกับกาทำงาน จนหลงลืมใช้ชีวิต หันกลับมาอีกที่ "ตัวเลข" กลับไม่ได้ทำให้ผมมีความสุขเหมือนเดิมจากคนที่เคยสนุกกับการแข่งขัน มีเป้าหมายและผลประกอบการและกำไรไว้ให้พุ่งชน  ถึงจุดหนึ่งสอนให้ผมรู้จักกับคำว่า"พอ" เงินไม่ใช่สิ่งที่ผมโหยหิว กำไรสูงสุดไม่ใช่สิ่งที่ผมบูชา ผมได้เรียนรู้ถ่องแท้ถึงคุณค่าใหม่ของชีวิตที่มีความหมายมากกว่านั้น นั่นคือจุดหักเหครั้งสำคัญ ก้าวผ่านชีวิตอีกขั้น หลังจากการขายหุ้น อะไรคือความสุขที่แท้จริง อะไรคือความหมายของชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับผมและครอบครัว "จะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำไปทำไม แล้วจะทำอีกเหรอ" ผมถามย้ำซ้ำๆกับตัวเอง  คำตอบคือลาออกแล้วชีวิตจะเอาอย่างไรต่อไป  ยังเร็วเกินไปที่จะเกษียนตัวเองไปพักผ่อนในวัย 52  ในขณะที่มีความพร้อมทุกอย่างมากมายในมือ ทั้งทุน ชื่อเสียง ประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมงานที่ดี  ผมยังมีลูกน้องหลายคนที่เคยร่วมทุกข์สุข บรรดาคู่ค้าที่กอดคอโตทำธุรกิจมาร่วมกัน   ผมยังสนุก ท้าทายกับการคิดอะไรใหม่ๆนอกกรอบ  มากไปกว่านั้นคือ จิตวิญญานและความรักของผมในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม   ผมจะขายหุ้น ไม่ได้ขายชีวิต
      จะถือหุ้นใหญ่ หรือหุ้นเล็ก จิตวิญญานความเป็นเจ้าของสำหรับผมไม่ต่างกัน   หลังขายหุ้น 55 เปอร์เซ้นต์ให้กับกลุ่มเบียร์ช้างเมื่อ 6 ปีก่อน ตามสัญญาต้องช่วยบริหารงาน 3 ปี แต่ผมบริหารงานมาถึง 5 ปี  ทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นโออิชิทั้งรายใหญ่แลัรายย่อยทุกคนเพิ่มขึ้นทุกปี บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีมูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า  ผมมั่นใจว่าได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์มาตลอด 5 ปี ไม่ได้ทำให้ใครเสียหายทั้งสิ้น จนกระทั่งถึงวันที่ตัดสินใจลาออก
     ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเป็นวิชาชีพของผม เป็นภูมิปัญญาเป็นงานที่ผมรัก  เมื่อจะบุกเบิกธุรกิจใหม่อีครั้ง ผมอยากทำธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งแต่ เงินๆๆและกำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง  แต่เป็นธุรกิจเพื่อ "ภารกิจ"ความสุข..ที่ต้องดูแลสังคมด้วย นั่นคือแรงบันดาลใจที่ทำหใ้ผมหวนกลับมาทำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอีกครั้ง พร้อมจุดเริ่มต้นของ "อิชิตัน ออร์แกนนิค กรีนที"เครื่องดื่ม"ดับเบิ้ลดริงค์"   ขับเคลื่อนภาระกิจเป้าหมายใหม่ที่เปลี่ยนไปในการทำธุรกิจ ในนาม "บริษัท ไม่ตัน จำกัด" ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท โดยเงินปันผล 50 เปอร์เซ็นต์ จากหุ้นที่ผมและภรรยา ถืออยู่จำนวน 150 ล้านหุ้น มูลค่า 300 ล้านบาท จะมอบให้กับมูลนิธิตันปันตั้งแต่ปีแรกที่ดำเนินการเป็นต้นไป  นับจากนั้นเมื่อผมอายุ 60 ปีแล้ว จะเพิ่มสัดส่วนการบริจาคไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ให้กับมูลนิธิตันปันตลอดไป เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมเล็กๆของการแบ่งปันสู่สังคมในด้าน "การศึกษา" และสิ่งอวดล้อม    ทั้งหมดนี้เพราะผมและภรรยามีเป้าหมายร่วมกัน นับแต่นี้จะใช้เงินของเราทำอะไรก็ได้ที่มี"ความสุข"
      ความสุขไม่ได้แปลว่าเราต้องซื้อทรัพย์สิน ไม่ได้แปลว่าเราต้องบริโภค ต้องสะสมความั่งมี  บางนเข้าใจว่ามีเงินแล้วมีความสุข  จริงๆแล้ว เงินเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานขั้นต้น  มากไปกว่านั้นเงินแทบจะไม่มีความหมาย
     ความสุขจึงไม่ได้เป็นสิ่งผูกขาดสำหรับคนรวย
     คนเราสามารถมีความสุขได้หลายอย่าง
     สิ่งที่ทำหให้ผมมีความสุขในชวงหลังคือ การได้ช่วยเหลือสั่งคม  ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายถ่ายทอดประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจหรือการจัดกิจกรรมช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน
    การที่ได้เห้นรอยยิ้ม  ของคนที่ ได้รับ  เป็นความสุขใจอย่างหนึ่งของผม
    เวลาที่เหลือนับจากนี้ ผมมุ่งมั่นที่จะสร้างบริษัทไม่ตัน ให้เป็นธุรกิจ เพื่อภารกิจของมูลนิธิตันปัน และ "เป้าหมาย"ของผมนับจากนี้ไม่ใช่การ"ได้รับ" แต่เป็น "การให้"  ผมเชื่อเสมอว่า..คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะ "เป็น" ได้
    และวันนี้ผมเลือกแล้ว

ขอข้ามไปวิถีที่ 16 ก่อนค่ะ


    วันหนึ่งระหว่างทางที่กลับบ้านที่ชลบุรี"กระบอกข้างหลาม" ของฝากข้างทางจุดประกายให้ผมนึกถึงปรัชญาธุรกิจ "โตอย่างไผ่" ที่อยากเล่าสู่กันฟังครับ   มองเผินๆกระบอกข้าวหลามจากต้นไผ่ ต้นไม้ลำไม่ใหญ่ แถมข้างในเป็นโพรง กิ่งของมันไหวเอนไปตามลม ดูไม่น่าจะแข็งแกร่ง แต่กลับแข็งแรงกว่าที่เราคิด ไผ่อายุยืน โตเร็วและทนทาน ขยายพันธุ์จากกอไผ่ต้นน้อย แข่งกันแตกหน่อเติบโตเป็นกอใหญ่ ลำต้นแข่งขันกันสูงใหญ๋ยืดตัวจนใครๆมองเห็นทั่ว  ยิ่งแข่งกันสูงรับแสงจากดวงอาทิตย์ กอไผ่ยิ่งเติบโต ขยายอาณาจักรของมันออกไปอย่างไม่ลดละ เพราะสังคมขอต้นไผ่แข่งขันกัน แต่ไม่ทำลายกัน  ไผ่หลายกอเติบโตรวมกันยามเมื่อลมพายุแรงๆพัดใส่ไผ่กอใหญ่กอนี้จึงแข็งแรง ไม่ล้มหักโค่นง่ายๆ ในความคิดของผม ไผ่จึงยืนหยัดเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงที่สุดท่ามกลางการแข็งขันและอยู่รอด
   การโตแบบกอไผ่ เคยเป็นกลยุทธ์ที่ผมนำมาใช้กับการบริหารธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน เมื่อสิบกว่าปีก่อน  ผมเริ่มต้นทำธุรกิจบนแนวคิดใหม่ แตกขยายร้านออกไปบนทำเลเดียวกัน ด้วยเป้าหมาย ฝันอยากจะสร้างถนนสายวิวาห์ให้เบ่งบานที่ทองหล่อ เหมือนๆที่เกิดขึ้นบนถนนสายทองคำที่เยาวราช  ครั้งแรกที่ผมชวนพนักงานที่เก่งๆแล้วในร้านแรกออกไปเปิดร้านใหม่แห่งที่ 2 " คุณแมว" หุ้นส่วนคนแรกขอผม หวั่นใจไม่น้อยว่าจะเกิดปัยหาแย่งลุกค้ากันเองหรือไม่  แต่ผมยังยืนยันนโยบายเดนหน้าร่วมทุนเปิดร้านใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ทุกครั้งที่จะร่วมหุ้นเปิดร้านใหม่ บรรดาหุ้นส่วนร้านเดิมทั้งหมดจะสามัคคีกันเป็นแนวร่วมทักท้วง ส่วนรายล่าสุดก้มักจะยื่นคำขาดแกมขอร้องว่า ให้ผมหยุดที่ร้านเขาเป็นร้านสุดท้ายได้ไหม
   วันหนึ่งผมเลย้องเรียกประชุมหุ้นส่วนทุกร้านมาคุยพร้อมกันหมด แจกแจงให้ฟังถึงแนวคิดธุรกิจ เปรียบเทียบให้เห็นถึงการโตอย่างต้นไผ่  ขอให้แต่ละร้านแข่งขันกันเต็มที่ แต่อย่าทำลายกัน ให้แข่งขันกันที่ความขยัน การลดต้นทุน แข่งกันบริการให้ดีที่สุด ใช้การแข่งขันดึงดูดลุกค้า สร้างบรรยากาศตลาดให้คึกคัก  เครือข่ายธุรกิจแบบแข่งขันแต่ยังช่วยเหลือเกิื้อกูลกัน เปรียบเหมือนเป็นกอไผ่ที่ยิ่งแตกก้ยิ่งเติบโต ในที่สุดตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดและรายได้ในบัญชี ก้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้หุ้นส่วนยอมรับว่าการมีร้านมากขึ้น ไม่ได้กระทบต่อยอดขายเดิม ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดขายที่ทำให้ตลาดโตยิ่งกว่าเดิม  มองย้อนกลับไป แม้วันนี้ธุรกิจสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงานจะไม่ได้บูมเหมือนยุคขาขึ้นในอดีต แต่การที่เรายังยืนหยัดสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงานจนถึงปัจจุบัน ผมถือเป็นบทพิสูจน์ถึงความเป็น"ตัวจริง"ในสังเวียนธุรกิจที่ยั่งยืนหยัดอย่ได้บนถนนสายเวดดิ้งทองหล่อ  กลยุทธ์ดตอย่างไผ่ ยังเป็นดมเดลที่ผมหยิบมาใช้อีกครั้งกับธุรกิจใหม่  ร้านราเมนแชมเปี้ยน อารีน่าทองหล่อซอย 10 โมเดลที่รวมเอาสุดยอด 6 ร้าน"ราเมน" ต้นตำรับมาต่อกรเปิดแข่งกันในพื้นที่เดียวกัน แทนที่จะมองว่าแย่งลูกค้ากัน กลับยิ่งช่วยสร้างความคึกคักให้อารีน่า กลายเป็นทำเลนัดพบประสบการณ์ความอร่อยแห่งใหม่  เพราะความหลากหลายทางเมนูและบริการให้ลูกค้าได้เลือกสรรในที่เดียว  นอกจากราเมนทั้ง 6 ร้านจะขายดีแล้ว ร้านช็อกโกแลตและไอศรีมอย่าง melt me ก้พลอลคึกคักไปด้วย
   เมื่อการแข่งขันกลายมาเป็นจุดขายทางเลือกใหม่ๆสำหรับลูกค้ายิ่งแข่งก็ยิ่งโตครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทความจากอัจฉริยะสร้างสุข ของ วนิษา เรซ

 ไม่มาก...ไม่ยาก
         ปัญหาของคนเก่งคือ รู้เยอะแต่ทำไม่ได้ เราเห็นคนเก่งมากมายเรียนได้จนรับปริญญาเอก แต่มีปัญหาชีวิตครอบครัว เห็นคนจบด้านการเงินแต่ลงทุนพลาดจนล้มละลา เห็นเด็กเรียนเก่งระดับเกียรตินิยมแต่กระโดตึกฆ่าตัวตาย  ความรู้เป็นของมีค่า เป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ หาทรัพย์สินสิง่ของมาให้เรา แต่ความรู้และทรัพย์สินไม่ได้ประกันความสุขขั้นละเอียด แม้จำเป็นต่อความสุขขั้นพื้นฐาน แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับความสุขขั้นละเอียดขึ้นไปกว่าวัตถุ และปัญหาคือ มนุษย์เราต้องการความสุขขั้นละเอียดเสียด้วย ไม่เช่นนั้น รวยแค่ไหนก็ไม่วายรู้สึกโหวงๆภายในเรื่อยไป ต้องหาทางเติมเต็มด้วยคนรอบตัว ด้วยสิ่งของหรือกิจกรรมต่างๆไม่จบสิ้น
      อาร์ชิบาลด์ แมคเคลอิช พูดไว้น่าสนในมากว่า " ปัญหาที่โลกมีไม่ใช่เพราะความเชื่อว่าข้อมูลข่าวสารและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งดี ความรุ้ดีกว่าความเขลาแน่นอนอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ตรงที่คววามเชื่อว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนโลกได้ เพราะมันไม่จริง"
     รู้เพียงไม่มาก ทำให้ไม่ยาก  แล้วดูว่าสิ่งใหม่ที่เราได้เรียนรู้และลองลงมือทำ จะทำให้ชีวิตของเรามีความสุขได้อย่างไร
    รู้มาก  มีมาก ไม่ได้ประกันว่าโลกนี้จะดีขึ้นหรือเราจะสุขขึ้น ความสุขจะมีขึ้นได้เมื่อเรารู้ว่าควรวางสิ่งใดลง วางลงเมื่อไหร่ และวางลงเพื่ออะไร ความสุขประเภทนี้มาพร้อมปัยหา มาพร้อมกับความสามารถในการตั้งคำถามที่จะนำเราไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นได้
    คนเก่งหรือไม่เราไม่ได้ดูว่าเขาจำและตอบคำถามได้ดีแค่ไหน แต่เราจพดูที่ "ตั้งคำถาม" เป็นไหม่ต่างหาก ท่องจำใครๆก้ทำได้ แต่จะคิดตั้งคำถามให้นอกกรอบ ให้เส้นทางการเดินไปหาคำตอบไม่หลงทางนั้น ไม่ใช่ทุกนจะทำได้   เมื่อทุกข์ การตั้งคำถามว่า " ทำไมต้องเป็นฉัน"  " มะไม่ยุติธรรมเลย ทำไมไม่เกิดกับคนอื่นบ้าง"   คงไม่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น  คำถามที่สำคัญที่สุดบนเส้นทางสร้างสรรค์ความสุขน่าจะเป็นว่า
    ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ตัวเรา ครอบครัวเรา สังคมเรา และโลกเรามีความสุขขึ้นได้ แม้เพียงอีกสักนิดก็ยังดี    คำถามนี้ง่ายๆไม่ซับซ้อน ตรงประเด็นที่สุด ต้องง่ายๆระดับนี้จึงจะได้ผล เพราะอย่างที่บอกว่า หลักการที่ได้ผลที่สุดมัก  ไม่มากและไม่ยาก  เสียด้วย

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านยาให้ขายดีต้องใช้เวลา

มา share ประสบการณ์การเปิดร้านขายยา ขย.1 ค่ะ
  หากเป็นเภสัชกรมีใบอนุญาตขายยาอยู่แล้ว ก็เริ่ม
1. หาทำเลทองกัน  ชื่อว่าทำเลทอง ใครๆก็อยากได้ เรามักไม่ใช่คนแรกที่เห็น  นอกจากคุณจะเล็งเห็นแล้วว่าในไม่ช้าทำเลเงินนั้นจะกลายเป็นทำเลทองในเร็ววัน คุณก็ไปเป็นผู้บุกเบิกเลย ค่าเช่าก็แล้วแต่ทำเลทอง หรือ เงิน หรือทองแดง ตั้งแต่หลักพัน ไปจนหลักแสน กันเลยทีเดียว (ภูเก็ต)  ค่าเช่าที่เป็นต้นทุนคงที่ที่ต้องสนใจ และทำเลก็เป็นหัวใจหลัก ในการค้าขาย    ทำเลทอง/เงิน หายังไง มี web แนะนำเรื่องนี้อยู่มากมายค่ะลองสืบค้นดู
2.ถ้าคุณเป็นนายทุน ไม่ใช่เภสัชกรเอง  ก้ต้องหาเภสัชกร (ที่มีใบประกอบ) มาทำงานให้ที่ร้าน โดย ตลอดเวลา ที่แจ้งเปิดร้านต้องมีเภสัชกรประจำ ตลอดเวลาทำการ  หากเภสัชไม่อยู่ มีคนขายแทนก็จะอนุญาตให้ขายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ค่ะ  ค่าจ้างเภสัชกรก็แตกต่างกันไปตามพื้นที่ อย่างที่ภูเก็ต ก็ 30,000++ โดยมีที่พัก+internet+อื่นๆอีก


3.ตกแต่งร้าน  อันนี้ก็แล้วแต่งบประมาณ อย่างต่ำๆก็ 150,000-200,000 รวมติดแอร์  รวมค่าป้ายไฟ ยิ่งร้านใหม่ๆต้องเอาป้ายให้ชนะเลิศ คนผ่านไปมาเห็นชัดๆ ทั้งป้ายหน้าร้าน ป้ายยื่น เอาให้ครบ
จัดzone ยาต่างๆให้ถูกต้องตามที่สสจ.กำหนด  อย่างยาอันตรายต้องอยู่ในตู้ที่ล็อกได้ เผื่อเวลาเภสัชไม่อยู่จะต้องล็อกไว้  


4.เลือกยา/จัดวางยา  มือใหม่ก็ไปเลือก/ปรึกษากับยี่ปั๊วไปก่อน เค้าอาจรู้ว่า zone ไหนยาประเภทไหนขายได้ ยาพื้นฐานควรมีอะไรบ้าง  ส่วนมากจะให้ credit ลงยาครั้งแรกก็เอาให้เต็มๆร้านหน่อย เพราะจะได้ดูมีอะไรขาย ไม่ใช่โหลงเหลง  ตัวไหนอยู่ไปขายไม่ได้ค่อยคืนก็ได้


5.ขออนุญาตเปิดร้านที่สสจ. อันนี้ทำไปพร้อมๆกับแต่งร้านก็ได้ เพราะครั้งแรกก็ต้องไปเอาเอกสารมากรอก จัดเตรียมป้ายชื่อ/ป้ายโน่นนี่นั่น  พอจัดร้านเป็นรูปเป็นร่างก็ถ่ายรูปไปประกอบการยื่นขออนุญาตด้วย  และเภสัชกรต้องไปเซ็นต์เอกสารการเปิดร้าน และ สัญญาว่าจ้างระหว่างเจ้าของร้านกับเภสัชต่อหน้าเจ้าหน้าที่สสจ.ด้วย   พอเอกสารผ่านเค้าก็จะส่งให้นพ.สสจ.เซ็นต์เป็นใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
6.นัดตรวจสถานที่จริง  ถึงตอนนี้ก้เตรียมรับแขกจากสสจ.เลย เอาให้เป๊ะตามที่เค้าต้องการทุกอย่าง ก็ผ่าน เปิดร้านได้เลย
ต่อจากนั้นก้อยู่ที่ความตั้งใจ ความอดทน ของเจ้าของ/เภสัชกร ที่จะบริการอย่างมืออาชีพ และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน  แรกๆอาจต้องนั่งตบยุงกันไปเป็นเดือน ต้องมีเงินสำรองไว้ซัก 6 เดือน เพราะต้องซื้อยามาเติม และเผื่อขาดทุนในช่วงแรกๆด้วย....


กำไรยาใครว่ามากมาย แค่ 30 percent เอง....ทำใจไว้เลยจะเกิดการขายตัดราคากันขึ้น  ตั้งราคาให้เป็นไปตามสภาพพื้นที่ ยาตลาด ยาเรียกหาก็ต้องถุกหน่อย ไม่ต้องหวังกำไรมากมายเลย ไม่งั้นลูกค้าจะไปซื้อร้านอื่นหมด พาลเอายาจัดก็หายตามไปด้วย  หมดกำลังใจกันพอดี.....


******จนแล้วจนรอดหากไปไม่ไหวจริงๆก็ปิดอย่าดันทุรัง  หาช่องทางอย่างอื่น  หนทางไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบค่ะ***คิดให้ออก เกิดปัญญา  ตั้งใจ  ไม่ไกลเกินฝัน**สู้ๆ